2011年8月23日星期二

ศิลปะสุโขทัย


คือ ศิลปะที่แพร่กระจ่ายอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๘-๒๐โดยมีเมืองของสุโขทัยเป็นราชธานี
ศิลปะสุโขทัยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

-สมัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๘-๒๐ 
-ที่ตั้ง  ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำยม-ปิน-นานและป่าสัก ในเขตภาคเหนือตอนล่างของไทย
-ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดสุโขทัยมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม โดยตอนเหนือเป็นที่ราบสูงมีภูเขาเป็นพืดยาวมาทางทิศตะวันตก พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบและตอนใต้เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำไหลผ่านจากเหนือลงใต้ โดยผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และอำเภอ กงไกรลาศ เป็นระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร จังหวัดสุโขทัยมีภูเขาที่สูงที่สุด คือ เขาหลวง ซึ่งยอดเขามีความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล

-ประติมากรรม
สมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระพุทธรูป ๔ พระอิริยบถ คือ ปางประทับนั่ง  ปางประทับยืน ปางลีลาและปางไสยาสน์   พุทธลักษณะทั่วไปของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย  คือ  มีพระอังสา(บ่า)ใหญ่ บั้นพระองศ์(เอว)เล็ก  พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระโอษฐ์อมยิ้ม  พระขนงโก่ง  พระนาสิกโด่ง  เม็ดพระศกคล้ายก้นหอย   พระรัศมีเป็นเปลวไฟ ฐานเป็นรูปหน้ากระดานเรียบฯ ชายจีวรยาวทำเป็นรูปเขียวตะขาบ  จำแนกออกเป็น๔หมวด  ดังนี้


๑ )หมวดใหญ่ /หมวดทั่วไป /หมวดคลาสสิก  พระพักตร์รูปไข่  พระโอษฐ์อมยิ้ม  พระขนงโก่ง  พระนาสิกโด่ง  พระรัศมีเป็นเปลวไฟ  พระอังสาใหญ่  บั้นพระองค์เล็ก ขมวดพระเกศาเวียนขวาเป็นก้นหอย  ชายสังฆาฎิเป็นรูปเขียวตะขาบ
๒ )หมวดพระพุทธชินราช  พระพักตร์ค่อนข้างกลม  พระหัตถ์ทั้ง๔ยาวเสนอกัน
๓ )หมวดวัดตะกวนหรือหมวดเบ็ดเตล็ด  มีลักษณะของพระพุทธรูปล้านนาและลังกาเข้าผสมผสาน  พบที่วัดตะกวนเป็นแห่งแรก  ต่อมาพบที่วัดพระพายหลวง ฯลฯ
   )หมวดกำแพงเพชร ลักษณะคล้ายหมวดใหญ่   พระนลาฏ(หน้าผาก)กว้าง  พระหนุ(คาง) ค่อนข้างแหลม

-สถาปัตยกรรม




 ความหมายของสถาปัตยกรรม
ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ
สถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่จะแสดงออกในงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งก็คือ กรสร้าง เจดีย์ต่างๆ  ซึ่งล้วนมีเอกลักษณ์ของสุโขทัยทั้งสิ้น 
เจดีย์ตามความหมายของาชาวสุโขทัย คือ สิ่งก่อสร้างที่ควรต่อการเคารพบูชา 
รูปแบบและทรงเจดีย์ต่างๆ มักมีแบบแผนร่วมกันคือ ประกอบจากสามส่วนหลัก  ส่วนล่างคือฐาน  ส่วนกลางคือเรือนธาตุ  และส่วนบนคือยอดแหลม

1.               เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เป็นแบบที่สร้างสมัยแรก เช่นที่วัดตะกวน วัดช้างล้อม วัดสระศรี เมืองสุโขทัย




2.       เจดีย์ทรงดอกบัวตูม 
·         เจดีย์ดอกบัวตูมแบบวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นแบบเจดีย์ทรงดอกบัวแบบสุโขทัยแท้ ๆ ตั้งอยู่บนฐานเขียง ฐานบัวลูกแก้ว เหนือฐานบัวลูกแก้วเป็นแท่นแว่นฟ้าย่อเหลี่ยม แท่นแว่นฟ้ารับเรือนธาตุ ต่อจากเรือนธาตุเป็นยอดที่เป็นดอกบัวตูม ซึ่งเราจัดเป็นเจดีย์ที่สร้างโดยทั่ว ๆ ไป
·         เจดีย์ทรงดอกบัวตูมแบบวัดซ่อนข้าว เมืองสุโขทัย เป็นแบบฐานแว่นฟ้าบัวลูกแก้วสองชั้นตั้งรับเรือนธาตุ



-ประวัติแหล่งท่องเที่ยว
1 พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าพระองค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคำภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าสั่งสอนประชาชน ลักษณะพระพักตร์อย่างพระพุทธรูปสุโขทัยตอนต้น ซึ่งแสดงถึงความมีน้ำพระทัย เมตตากรุณา มีความยุติธรรม และมีแท่นมีภาพจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ ตามหลักฐานที่อ้างถึงในศิลาจารึกที่ค้นพบในเมืองสุโขทัย
2 วัดศรีสวาย
เดิมเป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์เนื่องจากยังปรากฏปรางค์แบบขอม 3 องค์อยู่จนปัจจุบันเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ประพาสเมืองสุโขทัย ทรงพบพระรูปพระอิศวรและหลักไม้ปักอยู่ในโบสถ์จึงทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คงเป็นสถานที่พวกพราหมณ์ใช้ในการทำพิธีโล้ชิงช้า (ตรียัมปวาย) แต่ต่อมาเมื่อชาวไทยเข้าครองกรุงสุโขทัย วัดนี้จึงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดทางพุทธศาสนา
3 วัดพระพายหลวง

ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ฝังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกคูแม่โจน วัดพระพายหลวงนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในระยะแรกก่อนการสถาปนาอาณาจักร สุโขทัย โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของวัดคือ พระปรางค์ 3 องค์ ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะแผนผังและรูปศิลปะเป็นแบบเขมรบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
4 วัดศรีชุม
ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอจนะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่อง ชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงาม ของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบเพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับ ซ่อนอยู่อย่างนี้เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหา กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญ และด้านอื่น ๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม
5 หลวงพ่อศิลา
 

แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในถ้ำเจ้าราม กลางป่าลึกในเขตติดต่ออำเภอบ้านด่านลานหอย ต่อมาชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดทุ่งเสลี่ยม เมื่อราวปี พ. ศ. 2472-2475 ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2520 ได้มีคนร้ายขโมยหลวงพ่อศิลาไป และได้มีการนำไปประมูลขายที่ประเทศอังกฤษ แต่ภายหลังก็สามารถติดตามกลับคืนมาได้ และนำมาประดิษฐานยังวัดทุ่งเสลี่ยมตามเดิม
-บรรณานุกรม



没有评论:

发表评论