2011年6月26日星期日

ปราสาทนครธม

กลุ่มปราสาทนครธม

บอกเพื่อน บอกว่าตัวเองรถเสียให้เลยอีกคนมาแทนชื่อ สมอาจ คนนี้พูดภาษาไทยได้เหมือนกัน แต่ดูจะไม่คล่องเท่า



ส่วนตัวคิดว่ารถคงจะไม่เสียหรอก แต่อยากให้เพื่อนได้ลูกค้าบ้างมากกว่า ซึ่งก็แล้วแต่คนมอง ผมรับได้ และดีที่มีเพื่อนแบบนี้นะ ช่วย ๆ กันไป



คุณสมอาจคนรถพามาที่ร้านลี่ลี่ในตอนเช้า ตอนนั้นผมไม่ได้สั่งก๋วยเตี๋ยวเนื่อ แต่สั่งอาหารอย่างอื่นมาแทน รสชาติใช้ได้นะ



สิ่งที่สังเกตเห็นอีกอย่างเมื่อมาร้านนี้คือ น้ำตาล เขาตั้งน้ำตาลให้เป็นขวด ๆ เลยให้ใส่ในอาหาร และเครื่องดื่ม เพราะเครื่องดื่มเขาไม่ใส่น้ำตาลให้



พอได้รถ คนรถก็พาไปซื้อตั๋วเข้านครวัด-นครธม เราซื้อตั๋วแบบ 3 วัน เพราะมีเวลาอยู่แค่นั้น หลังจากซื้อบัตรเสร็จก็เดินทางไปที่แรกคือ นครธม แค่ทางเข้าก็ใหญ่โตแล้ว





มีนักท่องเที่ยวที่นครธมเยอะมาก ที่ทางเข้ามีช้างให้เช่าไปนั่งชมปราสาทด้วย พอไปถึงตัวปราสาทคนรถก็จอดให้ลง แล้วก็ขับรถออกไป ผมดันลืมบัตรเข้าชมไว้ในรถ เลยจำต้องเดินไปหาคนรถอีกที ซึ่งอยู่ห่างออกไปมาก เล่นเอาหอบ ยังไม่ทันจะถึงที่จอดรถดี ก็มีเด็กมารุมล้อมเสนอขายสินค้าทีระลึกต่าง ๆ นา ๆ ผมเลยเร่งสปีดเต็มที่ จนเด็กบ่นว่าเดินเร็วชิบ แหม๋น้องก็คนมันกลัวอ่ะ พอถึงรถก็บอกคนรถว่าลืมของ คนรถเขาเลยขับมาส่งที่หน้าปราสาทบายนอีกรอบ


ปราสาทบายน เป็นปราสาทแรกที่เข้าชม เป็นปราสาทที่มีพระพักตรเยอะมาก ละลานตาไปหมด





บางจุดก็มีการซ่อมแซมตัวปราสาทอยู่ด้วย






รูปนางอัปสราก็เห็นได้ทั่วไปเช่นกัน








สิ่งอื่นไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ คือมันน่าทึ่งมากที่เอาหินมาเรียงซ้อน ๆ กัน แล้วแกะสลักเป็นรูปร่าง ได้ใหญ่โตขนาดนี้ เป็นความมานะพยายามอย่างยิ่ง และต้องใช้ช่างที่มีฝีมือในการทำจริง ๆ แต่อดสงสัยไม่ได้ว่า บันไดที่ชันแบบนี้ (ซึ่งชันทุกปราสาท) คนสมัยก่อนเขาเดินยังไง โดยเฉพาะผู้หญิ่งที่ต้องนุ่งซิ่น ส่วนตัวผมแล้วยังเสียวตกอยู่รอมร่อ :S








อันนี้เป็นกลุ่มเด็ก ๆ ที่มาแต่งตัวถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยว หลายคนคงบอกได้ว่าเป็นเรื่องรามเกียรติ์






ศิวลึงค์ในตัวปราสาทหายไปเกือบหมด แต่บางส่วนก็มีพระพุทธรูปตั้งอยู่บ้าง



ตอนผมไปนั้นปราสาทปาปวนปิดปรังปรุงเลยได้แต่เดินดูข้างนอก แบบไกล ๆ พอไปถึงด้านหลังก็เจอกับไกด์ ใช้ลูกไม้เดิมก็แอบไปยืนฟังใกล้ ๆ ได้มาว่า



อย่างที่คุณเห็นว่า ต้นไม้พวกนี้มันทำลายปราสาท แต่ถ้าเราตัดต้นไม้พวกนี้ออกไป เพื่อรักษาปราสาทไว้ คุณก็คงไม่มาดูมันอยู่ดี



ก็จริงของเขานะ แต่ผมก็ยังอยากเห็นปราสาทพวกนี้ในสภาพสมบูรณ์อยู่นะ อาจจะจำลองในคอมพิวเตอร์ให้ดูสักหน่อยก็ได้ อย่างที่จีนจำลองพระราชวังต้องห้ามอะไรงี้

ถัดจากนั้นก็มาเจอกับปราสาทพิมานอากาศ เดินวน 1 รอบ จะหาทางขึ้นทางอื่น เพราะทางขึ้นที่เห็นครั้งแรก คนขึ้นอยู่เต็ม แต่สุดท้ายแล้ว มันไม่มีกลับไปก็ว่างพอดี ปราสาทพิมานอากาศสูงมาก ชันมาก แทบจะเป็นลม ยังดีที่เขาทำบันไดใหม่ให้ ไม่งั้นคงไม่มีใครกล้าขึ้นแน่ ๆ







บนยอดปราสาทไม่มีอะไรมากนัก มันพังหมดแล้ว แต่มาแล้วต้องขึ้น บำรุงหัวใจ





ถัดจากนั้นก็จะเป็นลานช้าง แล้วก็ลานพระเจ้าขี้เรื้อน ด้านบนของลานช้างจะเป็นรูปดอกบัว (ช้างแบกดอกบัวไว้) แล้วด้านล่างจะมีรูปช้างอยู่อีกหลายรูป แล้วจะมีรูปม้า 5 หัวด้วย รอบ ๆ ลานช้างจะมีช้างอยู่เต็มไปหมด ทางเดินก่อนจะมาถึงลานช้างจะเป็นรูปครุตเยอะแยะมากมาย

พระรูปพระชัยวรมันที่ตั้งอยู่ที่ลานพระเจ้าขี้เรื้อนนั้น เป็นของที่ทำเลียนแบบ ส่วนของจริงตอนนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ อันนี้ก็แอบฟังเขามาเหมือนกัน







หลังจากดูจบแล้วก็ต้องมาเผชิญกับฝูงแม่ค้าอีกแล้ว เขาทำทางบังคับให้เดินผ่าน เลยต้องจำใจฝ่าไปจนถึงรถ



ละก็เหมือนเดิมภาพที่เหลือดูได้จาก Picasa Web
  มาจาก

 http://fingersports.net/node/

ปราสาทนครวัด



นครวัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา


นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิศณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร



ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม



ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา



ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก



[แก้] ขนาดและการก่อสร้าง



มุมมองนครวัดทางอากาศ



หอสูงบริเวณศูนย์กลางของปราสาทหินนครวัด



ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ



ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง



ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี



หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด



[แก้] รูปสลักและงานประติมากรรม




ภาพสลักนูนสูงรูปนางอัปสรฟ้อนรำ



ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย




มีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจามมีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก” ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้วน่าจะหมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก คือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนหรือจาก[สุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้




ภาพพาโนรามาตั้งแต่ทางเข้าจนเห็นตัวปราสาทอยู่ไกลๆ

มาจาก


http://th.wikipedia.org/wiki

2011年6月21日星期二

คนไทยมาจากไหน

ทฤษฎีการอพยพของชาวไทย
อาณาจักรน่านเจ้ากับสิบสองปันนามีความเกี่ยวข้องกันหรือเปล่า
ที่ถามอย่างนี้เพราะอ่านหนังสือทฤษฎีการอพยพของคนไทยสองทฤษฎีหลักๆ คือทฤษฎีจากเหนือลงใต้ ที่บอกว่าคนไทยเคยตั้งอาณาจักรน่านเจ้า หนองแสก่อนจากนั้นอพยพลงมาเรื่อยๆจนเป็นไทยใหญ่ ลาว (ขุนบูรม) เป็นล้านนา (สิงหนวัติ) และเป็นสุโขทัย อยุธยา นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ฯลฯ
อีกทฤษฎีคือคนไทยมีถิ่นฐานแรกสุดอยู่ที่ภาคอีสาน และค่อยๆอพยพกระจายขึ้นไป ไปถึงเหนือสุดที่เมืองเชียงรุ่งสิบสองปันนา และตามทฤษฎีนี้ อาณาจักรน่านเจ้าไม่มีความเกี่ยวพันอะไรกับชนชาติไทยเลย (เพราะเราอพยพไปทีหลังอาณาจักรตั้ง)
ที่น่าสงสัยคืออาณาจักรสิบสองปันนาทับซ้อนอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นอาณาจักรน่านเจ้า และถึงอาณาจักรน่านเจ้าจะเป็นอาณาจักรไทยหรือไม่ก็ตาม แต่สิบสองปันนาทุกวันนี้เป็นคนไทยแน่ๆ
ก็เลยสงสัยว่าอาณาจักรน่านเจ้านี่มีความเกี่ยวข้องกับคนไทยหรือเปล่าน่ะครับ หรือคนไทยแค่เป็นประชากรส่วนหนึ่งในอาณาจักรนี้เฉยๆ และเมื่ออาณาจักรน่านเจ้าเสื่อมอำนาจลงก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นมาแทน อันนี้คิดแบบเอาตามทฤษฎีอพยพจากใต้ขึ้นเหนือนะ
ขอตั้งข้อสังเกตว่าทฤษฎีที่ว่าคนไทยอพยพจากเหนือลงใต้ก็น่าสนใจเหมือนกัน เพราะคนไทยมีวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ก้อนหนึ่งที่เป็นวัฒนธรรมบูชาผีฟ้า วัฒนธรรมนี้ถ้าตั้งอยู่ตรงอีสานที่ใกล้กับขอมเป็นเวลายาวนานก็น่าจะได้รับอิทธิพลขอมกับมอญทำให้เปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อย
แต่วัฒนธรรมไทยลื้อที่สิบสองปันนานั้นดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยได้รับอิทธิพลของขอมเท่าใดนัก ยังบริสุทธิ์อยู่มาก ชวนให้คิดว่าเขาคือพวกที่อยู่ที่นั่นแต่แรก ไม่ได้อพยพลงมาเจอขอมแล้วค่อยเปลี่ยนแปลงไปเหมือนไทยพวกอื่นๆ

 ความคิดเห็นที่ 1
เหมือนเคยอ่านที่ไหนนะครับว่า หนานเฉา หนันเจี้ยว หรือน่านเจ้า ไม่ใช่อาณาจักรของคนไท เป็นพวกที่มาจากธิเบต หรือชาวไป๋นี้แหล่ะ (ไม่แน่ใจนะครับ)
...
สิบสองปันนาเป็นคนไตแน่ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า คนไตกะคนไทจะเป็นกลุ่มคนเดียวกันเสมอไปนะครับ เพราะชาวจ้วงก้อพูดภาษากลุ่มเดียวกับคนไท แต่เหมือนงานวิชาการใหม่ๆ จะมีหลักฐานว่า จ้วงไม่ใช่ไท และมีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายว่า "ไท" แปลว่า "คน" ดังนั้นจึงเป็นคำกลางๆ ไม่ใช่ไทยในความหมายนี้
แต่สิบสองปันนาน่าจะเข้ากลุ่มกับไตใหญ่ได้นะครับ เพราะเชียงรุ้งเดิมเป็นเมืองของไทใหญ่

 ความคิดเห็นที่ 2
สมัยผมเด็กๆนี่จำได้เลยว่าเรียนประวัติศาสตร์ว่าบรรพบรุษของไทยอพยพลงมาจากเทือกเขาอัลไต คิดว่าปัจจุบันนี้ทฤษฏีนี้น่าจะเปลี่ยนไปแล้ว  ไม่รู้ว่าหนังสือประวัติศาตร์ปัจจุบันนี้เขียนว่ายังไง 

ความคิดเห็นที่ 3
ผมคิดว่ากลุ่มภาษานี่แหล่ะครับที่บอก ความใกล้ชิดของเผ่าพันธ์ ไม่งั้นจะเอาอะไรมานิยามคำว่าไทย
จากคุณ : ขอเอาชื่ออากงเป็นเดิมพัน 
 ความคิดเห็นที่ 4
ไม่มีใครรู้ว่าจริงๆเรื่องมันเป็นอย่างไรไงครับ ก็เลยมีมาหลายทฤษฎี และแต่ละทฤษฎีก็ยังหักล้างกันไม่เด็ดขาด
คำว่าไทหมายถึง 'คน' ในภาษาตระกูลไตกะได แต่ขอสังเกตว่าสมัยที่คนไทยวน (ล้านนา) อพยพเข้ามาทางตอนเหนือของไทยก็เข้าไปอยู่ร่วมกับพวกลัวะที่อยู่มาก่อน จนมีคนพูดว่า "ลัวะเฮ็ดไร่ ไทเฮ็ดนา" ดังนั้นคำว่าไทที่หมายถึงเผ่าพันธุ์ก็มีใช้มานานแล้วเหมือนกันนะครับ
ความคิดเห็นที่ 5
น่านจ้าว หรืออาณาจักรหนานจ้าวนั้นเกิดจากการรวมตัวกันของชนเผ่าทั้ง 6 ในแถบทะเลสาปเอ้อร์ไห่หน่ะครับ (เรียกว่า 6 จ้าว) และกลายเป็นอาณาจักรขึ้นมา อาณาจักรนั้นเริ่มต้นในราวๆคริสตศตวรรษที่ 6-7 และสิ้นสุดลงในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 10
ชนเผ่าที่เป็นแกนของอาณาจักรหนานจ้าวนั้นเป็นพวกเชื้อสายโลโล (หนึ่งในชนชาติที่พูดภาษาสายทิเบโต-เบอร์ม่า) หน่ะครับ
ในยุครุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของพีเล่อเก๋ออ๋องเคยขยายอิทธิพลเข้าโจมตีเสฉวนสร้างความพรั่นพรึงให้ราชสำนักถังมาก่อน และได้ครอบครองดินแดนกว้างใหญ่ในยูนนานและกุ้ยโจวบางส่วนไว้ได้
ต่อมาเกิดสงครามภายในเนื่องจากการแย่งชิงอำนาจของชนเผ่าต่างๆและเหล่าชนชั้นปกครอง ทำให้อาณาจักรหนานจ้าวอ่อนแอลง และล่มสลายไปในที่สุด ดินแดนยูนนานก็เข้าสู่ยุควุ่นวายจนในอีก 20 กว่าปีต่อมาเมื่อต้วนซีผิงรวบรวมเผ่าต่างๆโดยมีเผ่าไป๋เป็นแกนนำและก่อตั้งอาณาจักรต้าหลี่ขึ้นมาแทน

 ความคิดเห็นที่ 6
ส่วนเรื่องทฤษฎีการอพยพของชาวไทยนั้น ก็ต้องคิดกันว่าเราเชื่อว่าการมาของพวกโปรโตมองโกลลอย์ดแบบไหน
การเข้ามาในเอเชียตะวันออกไกลของพวกโปรโตมองโกลลอยด์นั้นแบ่งได้ 2 แบบคือ
1. ทฤษฎีเก่าเชื่อว่า พวกโปรโตมองโกลลอยด์แยกสายกับโปรโตคอเคซอยด์ในเอเชียกลาง โปรโตรมองโกลลอยด์อพยพจากเอเชียกลางเข้าสู่ตะวันออกไกล และแตกสายกันออกไป กลุ่มหนึ่งลงมาทางใต้จนถึงแหลมทองและเข้ายึดครองหรือกลืนพวกชนพื้นเมืองผิวดำที่อพยพมาก่อนกลายเป็นมองโกลลอยด์เชื้อสายใต้ไป
2. อีกแบบหนึ่งกล่าวว่า พวกโปรโตรมองโกลลอยด์เข้าสู่ตะวันออกไกล ไม่ได้มีแค่ 1 สาย แต่แบ่งเป็นหลายๆสาย พวกที่มาจากเอเชียกลางคือพวกโปรโตรทังกุส และเติร์กกิสที่พูดภาษาอัลติกทั้งหลาย พวกที่เข้ามาในที่ราบซิงไห่ก็เป็นพวกโปรโตรซิโน-ทิเบต อีกสายเข้าสู่แหลมทองโดยผ่านเอเชียใต้กลายเป็นพวกมอญ-แขมร์ไป
หรือบางทฤษฎีก็บอกว่าพวกโปรโตซิโน เข้าสู่จีนผ่านทางแหลมทองก็มี
ถ้าเชื่อแบบที่ 1 ก็มิต้องสงสัยว่าชาวไทยมาจากเอเชียกลางจริงๆ แต่จะเปลี่ยนแปลงจนสามารถนิยามได้ว่า กลายมาเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาไท-กะได ได้นั้น เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ และเกิดขึ้นที่ใด (โดยส่วนตัวผมคิดว่า บรรพบุรุษของกลุ่มภาษาตระกูลไท-กะได ได้เปลี่ยนแปลงจนสามารถนิยามได้ว่าเป็นกลุ่มภาษานี้ในจีนตอนใต้ครับ)
ถ้าเชื่อแบบที่ 2 ก็ต้องคิดว่า เราแยกสายมาจากทางเหนือ หรือเป็นกลุ่มที่เข้ามาทางอินเดียแล้วค่อยอพยพขึ้นไปตอนเหนืออีกที
แก้ไขเมื่อ 28 ก.พ. 51 13:30:35

 มาจาก
http://topicstock.pantip.com/

2011年6月14日星期二

เที่ยวเชียงใหม่

เชียงใหม่ หรือชื่อเดิม นพบุรีศรีนครพิงค์ก่อตั้งเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนาเมื่อกว่า 700 ปีก่อน โดยพญาเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย ต่อมาในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองเชียงใหม่จึงเปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลพายัพ และกลายเป็นจังหวัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เชียงใหม่นับเป็นศูนย์กลางของจังหวัดในภาคเหนือ โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เนื่องจากความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทางด้านธรรมชาติอันงดงาม ด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของชาวเชียงใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์น่าประทับใจ และความพรั่งพร้อมในเรื่องสถานที่พักและบริการด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ที่หลากหลาย เป็นที่ดึงดูดคนมาท่องเที่ยวนับล้านคนในแต่ละปี


ทิปส์เที่ยวเชียงใหม่
ช่วงฤดูหนาวจัดเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงนั้นจะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดเทศกาล ทำให้การจราจรในย่านตัวเมืองติดขัด แนะนำให้ใช้รถสองแถว หรือเช่ารถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ ขี่เที่ยวในย่านตัวเมืองเชียงใหม่จะสะดวกที่สุด
  การขับรถเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ที่สภาพเส้นทางลาดชันไปตามไหล่เขา ผู้ขับต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นและเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
  ช่วงเวลาสำหรับการดูนกบนดอยอินทนนท์ คือ ช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งจะมีนกอพยพหนีหนาวมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
  ในเชียงใหม่มีสถานที่ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระเมืองไทยอยู่หลายแห่ง แต่ละแห่งสวยงามไม่แพ้กัน เช่น ดอยอินทนนน์ ดอยขุนแม่ยะ ดอยขุนช่างเคี่ยน ดอกนางพญาเสือโคร่งมักออกดอกบานสะพรั่งพร้อมกันทั้งต้นในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ควรตรวจสอบข้อมูลก่อนเดินทางไปท่องเที่ยว

ขุนช่างเคี่ยน ดอกนางพญาเสือโคร่ง





หมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 32 กิโลเมตร จะอยู่ทางทิศเหนือของยอดดอยปุย ตามเส้นทางสายเชียงใหม่ - พระธาตุดอยสุเทพ ผ่านวัดพระธาตุดอยสุเทพ และห่างจากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ประมาณ 8 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านชาวม้งดอยปุย ลักษณะถนนจากเมืองเชียงใหม่ถึงพระตำหนักฯ ลาดยางอย่างดี ส่วนทางที่จะเข้าไปในหมู่บ้านขุนช่างเคียน ปัจจุบันเป็นถนนลาดยางแคบๆทางเดียว และถนนบางช่วงจะชำรุด ขรุขระ ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ต้องระวังกันหลบหลีกรถที่สวนทาง ส่วนการเดินทางโดยรถจักยานยนต์ก็สามารถไปได้สบาย แต่ต้องระวังการเกิดอุบัติเหตุกันหน่อย

ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ขุนช่างเคี่ยนจะบานเป็นสีชมพู ดอกนางพญาเสือโคร่งที่ขุนช่างเคี่ยนจะบานในช่วงฤดูหนาว ช่วงระหว่างปลายเดือนธันวาคม - ต้นเดือนมกราคมเท่านั้น แนะนำให้สอบเจ้าหน้าที่ก่อนขึ้นไป ที่ขุนช่างเคี่ยนนักท่องเที่ยวสามารถพักได้โดยการ กางเต้น ที่ลานกางเต้นของสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน และก็ยังมีบ้านพักใว้บริการให้แก่นักท่องเที่ยว แต่มีจำนวนจำกัด ซึ่งควรที่จะสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า

ขุนแม่ยะ เชียงใหม่ ดอกนางพญาเสือโคร่ง




ดอกนางพญาเสือโคร่ง ณ ขุนแม่ยะ ตั้งอยู่ในความดูแลของ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ ในสังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน คือตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นดอยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,020 เมตร อาณาเขตพื้นที่ราว 87,500 ไร่ โดยพื้นที่ ทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ เลา–แม่แสะ ในช่วงแรกขุนแม่ยะ เป็น ผืนป่าที่เสื่อมโทรม ถูกทำลายจนราบโล่ง แต่ต่อมาทางหน่วยได้เริ่มปลูกต้นพญาเสือโคร่งเพื่อเป็น การฟื้นฟูป่า ในช่วงแรกเนื่องจากต้นพญาเสือโคร่ง เป้นต้นไม้ที่เจริญเติบโตเร็วและยังมีดอกที่สวยงามอีกด้วยจนทุกวันนี้ต้น พญาเสือโคร่งเป็นที่รู้จักกันนามของ ดอกซากุระเมืองไทย ที่สวยงามไม่แพ้ที่ใด

การเดินทางมาชมดอกพญาเสือโคร่งที่ ขุนแม่ยะ ถ้าตั้งต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ ให้ใช้เส้นทางถนน โชตนา (เชียงใหม่ – ฝาง) มาถึงบ้านแม่มาลัย ประมาณหลัก กม.34 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1095 ทางไปปาย ไปห้วยน้ำดัง ขึ้นเขาคดเคี้ยวชมวิวไปจนถึงทางเข้า ห้วยน้ำดังด้านขวามือให้ชะลอรถขับช้าๆต่อไปเตรียมตัวได้เลย อีกกิโลเมตรกว่าๆถึง ด่านตรวจแม่ยะ หลัก กม. 67 + 500 เป็นอันว่าถึงต้นทางขึ้นดอยแล้ว เลี้ยวซ้ายเข้าถนน วิบากดินลูกรังขับไต่ความสูงชันขึ้นดอย ประมาณ 8 กม. ก็จะถึงที่ทำการ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ ถนนทาง เข้าก็ค่อนข้างลำบากเนื่องจากที่นี่เป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ไม่มีนโยบายที่จะทำถนนถึงแม้จะเป็น สถานที่ ท่องเที่ยวก็ตามระหว่างทาง ที่นั่งรถมาผ่านทางลูกรังที่บางช่วงยังยากลำบาก ระหว่างทางเต็มไปด้วยผืนป่ารกทึบ อุดมสมบูรณ์และแน่นอนบนเส้นทางจะพบต้นนางพญาเสือโคร่งกระจายอยู่กับต้นสนสาม ใบและ และเมื่อถึง หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะสิ่งแรกที่เราเห็น ี่ตั้งแต่ปากทางเข้าคือ ความสวยงามของเจ้าดอกพญาเสือโคร่งที่เบ่ง บานเต็มยอดดอย

การเดินทาง และ ช่วงเวลา
สามารถเดินทางโดยรถยนส่วนตัว เป็นทางรูกรัง ทางค่อนข้างยากไม่เหมาะสำหรับรถเก๋ง ไม่มีที่พักไว้ให้บริการ ต้องเอาเต้นท์และอาหารไปเอง
ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ต้นเดือนมกราคม





2011年6月13日星期一

ประวัติศาสตร์คืออะไร

ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ
ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ

หอบูชาฟ้า เทียนถาน


 เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ค.ศ.1420 เปิดให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าได้เมื่อปี 1949 มีเนื้อที่ทั้งหมด 2.73 ตารางกิโลเมตร เป็นสถานที่ซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม ตั้งแต่เริ่มนั้นเทียนถานใช้เป็นสถานที่บูชาทั้งฟ้าและดิน จนมาถึงสมัยของฮ่องเต้เจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง (พ.ศ.2065-2110) จึงได้มีการสร้างหอบูชาดิน หอบูชาพระอาทิตย์ และหอบูชาพระจันทร์ แยกออกไปต่างหาก เทียนถานจึงเหลือชื่อเรียกเพียงหอบูชาฟ้า
     หอบูชาฟ้า เทียนถาน คำว่าเทียน Tian ในชื่อเทียนถาน หมายถึง ฟ้า ส่วนคำว่า ถาน Tan หมายถึง แท่นบูชา เคยสร้างและถูกทำลาย และเสียหายหลายครั้ง แต่ก็บูรณะขึ้นใหม่ทุกครั้ง ตำหนักที่โดดเด่นที่สุด และสำคัญที่สุดคือ ตำหนักฉีเหนียนเตี้ยน หรือ "ตำหนักสักการะ" ซึ่งจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง โปรดให้สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1420เพื่อเป็นสถานที่ บวงสรวงสวรรค์ให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในราชอาณาจักรมีความอุดมสมบูรณ์ของศิลปะ สถาปัตยกรรมของตำหนักนี้ จะใช้รูปทรงกลมเป็นต้นแบบ เนื่องจากความเชื่อว่า วงกลมหมายถึงโลกมนุษย์ สร้างเป็นแบบอาคารไม้ทรงกระบอกสูง 40 เมตร สร้างซ้อนกันขึ้นไป 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินเข้ม สีน้ำเงินเข้มของหลังคา มีความหมายว่าสวรรค์ มีเสารองรับน้ำหนักรวม 28 ต้น ภายในอาคารมีเสากลางขนาดใหญ่ 4 ต้น เป็นตัวแทนของฤดูกาลทั้ง 4 ภายนอกชั้นแรก จะมีเสา 12 ต้น เป็นตัวแทนของเดือนทั้ง 12 เดือน และ 12 ต้นอยู่ภายนอกสุด แทนความหมายของ 12 ชั่วยามในหนึ่งวันตามหน่วยเวลาของจีนโบราณ และทางใต้ของอาคาร จะเป็นลานหินอ่อนรูปวงกลม คือแท่นบวงสรวงสวรรค์ หรือหยวนชิวถาน ที่เรียกกันว่าหอบูชาฟ้า เพราะตามความเชื่อของจีนโบราณ องค์จักรพรรดิทุกพระองค์จะนำข้าราชบริพารและเหล่าขุนนางกว่า 1,000 คน มาทำพิธีเซ่นไหว้บวงสรวงแด่สวรรค์ เพื่อทำการขอบคุณเทวดาที่ทำให้พืชผลเก็บเกี่ยวได้อย่างสมบูรณ์ และขอให้ฤดูกาลที่จะมาถึงพืชพันธุ์และน้ำท่าบริบูรณ์
     ตำหนักหวงฉุงหยีว์ Huangqiongyu หรือ ตำหนักเทพสถิต เป็นอาคารรูปทรงกลม สร้างเมื่อ พ.ศ.2073 ในสมัยของฮ่องเต่เจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง ทำด้วยไม้ทั้งหลัง แต่ผนังโค้งด้านหลังก่อด้วยอิฐ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงิน ชื่อเรียกตำหนักเทพสถิตมาจากการที่ใช้ตำหนักแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานแผ่นป้ายของเทพเจ้าต่าง ๆ ที่ใช้ในการสักการะบวงสรวงฟ้าหรือสวรรค์ ภายในหอตั้งป้ายชื่อเทพเจ้าฟ้าดิน พระอาทิตย์และพระจันทร์ ใช้ในพิธีบวงสรวงของฮ่องเต้

     หยวนซิวถาน Yuanqiutan หรือ แท่นบวงสรวงฟ้า
หยวนซิวถานเป็นเนินรูปวงกลมสูงจากระดับพื้น 5 เมตร แยกออกเป็น 3 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2073 ในสมัยของฮ่องเต่เจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง แต่มาปรับปรุงขยับขยายให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้นในสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงเมื่อ พ.ศ.2292 ใช้เป็นสถานที่ที่ฮ่องเต้มาประกอบพิธีบวงสรวงสักการะฟ้าหรือสวรรค์เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว แกะสลักเป็นลวดลายเมฆและมังกร
http://www.oceansmile.com/China/BeijingChina.htm

2011年6月5日星期日

หลักฐานประวัติศาสตร์

หลักฐานประวัติศาสตร์ หมายถึง

            หลักฐานประวัติศาสตร์ หมายถึงร่องรอยการกระทำ การแสดง การพูด การเขียน การประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ที่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ในบริเวณที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกล่าวได้ว่า อะไรก็ตามที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น

         หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ มนุษย์ในแต่ละสังคมได้ทิ้งหลักฐานที่เป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆ ไว้มากมาย บนแผ่นศิลา โลหะ ใบลาน กระดาษ หรือผ้าไหม หลักฐาน ลายลักษณ์ของไทย เช่น จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ หนังสือพิมพ์ วารสาร กฎหมาย จดหมาย เอกสารราชการ งานวรรณกรรม เละงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและหลงเหลือตกทอดมาตามกาลเวลา หลักฐานประเภทนี้มีทั้งหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่
2.1 หลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ โบราณสถาน เช่น พระราชวัง วัด เจดีย์ กำแพงเมือง คูเมือง และ โบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับหินหรือเปลือกหอย เป็นต้น
2.2 หลักฐานทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น จิตกรรม ประติมากรรม ปราสาทหิน ปราสาทราชมณเฑียร เรือนไทย พระพุทธรูป เจดีย์ เป็นต้น