2011年7月19日星期二

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

ประวัติ

ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ได้มีการรื้ออิฐจากสถาปัตยกรรมในกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปก่อสร้างกรุงเทพมหานคร ทำให้โบราณสถานต่าง ๆ ถูกทำลายและทิ้งร้างไป[1] ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณสถานในกรุงศรีอยุธยาขึ้นอีกครั้ง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยาโบราณราชธานินท์ ข้าหลวงมณฑลกรุงเก่าทำการขุดแต่งโบราณสถาน และปรับปรุงสภาพในพระราชวังโบราณ
เมื่อปี พ.ศ. 2478 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานหลายแห่งในเกาะรอบเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ รวม 69 แห่ง[2]
ต่อมาในสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มโครงการบูรณะพระที่นั่ง และวัดต่างๆ โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล
ปี พ.ศ. 2512 ได้มีโครงการชื่อ โครงการสำรวจขุดแต่งและบูรณะปรับปรุงโบราณสถาน โดยมีความพยายามที่จะประสานงานร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในอันที่จะอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไว้
ในที่สุด พ.ศ. 2519 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของงานชิ้นใหม่ แล้วจัดทำโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้น และเริ่มทำการบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเป็นต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นมรดกโลก ดังนี้
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว



    รายชื่ออุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

    อุทยานประวัติศาสตร์จังหวัดเป็นมรดกโลกเมื่อ[ต้องการอ้างอิง]
    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา13 ธันวาคม พ.ศ. 2534
    อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจังหวัดสุโขทัย12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
    อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งบุรีรัมย์
    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีเพชรบุรี
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยสุโขทัย12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
    อุทยานประวัติศาสตร์พิมายนครราชสีมา
    อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์กาญจนบุรี
    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรกำแพงเพชร12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
    อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอุดรธานี
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเพชรบูรณ์
    อุทยานประวัติศาสตร์จังหวัดเป็นมรดกโลกเมื่อ[ต้องการอ้างอิง]
    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา13 ธันวาคม พ.ศ. 2534
    อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจังหวัดสุโขทัย12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
    อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งบุรีรัมย์
    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีเพชรบุรี
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยสุโขทัย12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
    อุทยานประวัติศาสตร์พิมายนครราชสีมา
    อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์กาญจนบุรี
    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรกำแพงเพชร12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
    อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอุดรธานี
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเพชรบูรณ์

    อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันในประเทศไทยมีอุทยานประวัติศาสตร์ 10 แห่ง ซึ่งใน 10 แห่งนี้ มี 4 แห่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก

    2011年7月9日星期六

    เจิ้งเหอและเรือสำเภาจีน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    รูปวาดเจิ้งเหอในจินตนาการของศิลปินที่ไม่ทราบชื่อ
    เจิ้งเหอ (จีนตัวเต็ม: 郑和; พินอิน: Zhèng Hé ; แต้จิ๋ว: แต้ฮั้ว) เป็นผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงศ์หมิง ( ; Ming)
    มีบันทึกว่าเจิ้งเหอเริ่มเดินทางรอบโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1421 และเคยติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาด้วย มีผู้เสนอทฤษฎีว่า เจิ้งเหอน่าจะค้นพบทวีปอเมริกาก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โดยไม่มีหลักฐานใดๆมายืนยันได้ชัดเจนเลยว่าเจิ้งเหอเคยเดินทางผ่านแอฟริกาใต้ หรือ อเมริกา เจิ้งเหออาจเป็นแค่ทฤษฏีที่ฝรั่งบางคนคิดขึ้นมาเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองเท่านั้น

    เนื้อหา

    [แก้] ประวัติ
    เดิมทีนั้นเจิ้งเหอมีชื่อว่า "ซานเป่า" แซ่หม่า เกิดที่มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นเขตแดนของมองโกลทางตอนใต้ของประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ. 1371 มีชื่อมุสลิมเป็นภาษาอาหรับว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบารฺ เกิดในตระกูลขุนนางมุสลิม เซมูร์ และเป็นลูกหลานชนชั้นที่หกของ ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร ผู้ปกครองมณฑลยูนนานผู้ลือนาม จากบุคอรอ ในอุซเบกิสถาน แซ่หม่า มาจาก มาสูฮฺ (มาสีหฺ) บุครคนที่ 5 ของ ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร บิดาของเจิ้งเหอมีนามว่า มีร ตะกีน และปู่มีนามว่า กะรอมุดดีน ได้ไปทำพิธีฮัจญ์ในมักกะหฺ จึงได้พบเห็นผู้คนจากทุกสารทิศ และต้องเล่าเรื่องนี้ให้แก่เจิ้งเหออย่างแน่นอน
    แต่ก่อนแซ่หม่าเรียกว่าหม่าเหอ เจิ้งเหอมีพี่น้อง 5 คนเป็นชาย 1 คน หญิง 4 คน เมื่อหม่าเหออายุได้ 12 ปี ตรงกับช่วงที่กองทัพของจักรพรรดิหงหวู่หรือจูหยวนจาง ปฐมราชวงศ์หมิงนำกำลังทัพเข้ามาขับไล่พวกมองโกลที่มาตั้งราชวงศ์หยวนออกจากประเทศจีน ทำการยึดครองยูนานเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรหมิงได้สำเร็จ ในเวลานั้นหม่าเหอได้ถูกจับตอนเป็นขันทีมีหน้าที่รับใช้เจ้าชายจูตี้ จนได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ช่วงสงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเอี้ยนหวังจูตี้กับหมิงฮุ่ยตี้ กษัตริย์ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากหมิงไท่จู่ เจิ้งเหอมีส่วนสำคัญช่วยให้จูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า "หย่งเล่อ" และได้รับการสนับสนุนเป็นหัวหน้าขันที ต่อมาได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง จึงเรียกขานว่า "เจิ้งเหอ" แต่ชื่อที่รู้จักกันดีก็คือ "ซันเป่ากง" หรือ "ซำปอกง" (三寶公/三宝公).
    [แก้] การเดินทางสำรวจ

    รูปวาดยีราฟ ที่เจิ้งเหอนำกลับมาถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ ในปีที่ 12 ของการครองราชย์
    การเดินเรือสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปี กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 37 ประเทศ เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1405 (พ.ศ. 1948) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยา เจิ้งเหอทำหน้าที่ผู้บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เรียกว่า "เป่าฉวน" แปลว่า "เรือมหาสมบัติ" ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง อดีตเมืองหลวงอันเก่าแก่ของจีนเป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของ "อู่ต่อเรือ" ใช้ในการเดินเรือของเจิ้งเหอ เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอยาว 400 ฟุต ขนาดใหญ่กว่าเรือ ซานตา มาเรีย ของโคลัมบัสที่ยาวเพียง 85 ฟุต ถึง 5 เท่า
    การเดินทะเลในครั้งแรกมีเรือขนาดใหญ่ตามไปด้วย 60 ลำ ขนาดเล็ก 255 ลำ มีลูกเรือทั้งหมด 27,870 คน แล่นเลียบชายฝั่งฟุเกี้ยน ผ่านไปยังอาณาจักรจามปา ชวา มะละกา สมุทรา (เซมูเดรา) และแลมบรีทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะลังกา กาลิกัต ขากลับได้นำคณะทูตจากเมืองเหล่านี้มาเข้าเฝ้าฯ จักรพรรดิหย่งเล่อ
    ในการเดินเรือแต่ละครั้ง ขากลับจะนำเครื่องบรรณาการจากเมืองต่าง ๆ มาถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ โดยเฉพาะสัตว์จากหลาย ๆ เมืองที่ผ่าน อย่างเช่นขากลับจากการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 5 เจิ้งเหอได้นำสิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน) กลับไปถวายแด่จักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรก
    ต้นปีถัดมาเจิ้งเหอก็เริ่มออกเดินทางในครั้งที่ 2 เวลานั้นอายุ 36 ปี ครั้งที่ 3 อายุ 38 ปี ครั้งที่ 4 อายุ 42 ปี ครั้งที่ 5 อายุ 46 ปี ครั้งที่ 6 อายุ 50 ปี ครั้งที่ 7 อายุ 60 ปี โดยครั้งสุดท้ายมีจำนวนลูกเรือ 27,550 คน ไปไกลถึงทวีปแอฟริกา
    เจิ้งเหอได้เข้าเยี่ยมสุสานศาสนทูตมุฮัมมัดในมะดีนะหฺและประกอบพิธีฮัจญ์ในมักกะหฺ นอกจากนั้นเจิ้งเหอได้ผ่านเข้าไปในเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย อารเบีย ทะเลแดง และอียิปต์
    ภายหลังการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 7 สิ้นสุดลง จากนั้นจีนก็หยุดดำเนินการสำรวจทางทะเล ส่วนเจิ้งเหอเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1432 ที่อินเดีย แต่มีการสร้างหลุมฝังศพจำลองของเขาอยู่บนภูเขาในเมืองนานกิง ไม่มีศพอยู่ในนั้น มีเพียงเส้นผมและเสื้อผ้าที่เคยใช้เท่านั้น ก่อสร้างตามแบบประเพณีมุสลิม เรียกว่า เจิ้งเหอมู่ หรือ สุสานเจิ้งเหอ ซึ่งได้รับการบูรณะใหม่ในปี ค.ศ. 1985 บนสุสานมีคำว่า อัลลอหุ อักบัร แปลว่า อัลลอหฺใหญ่ยิ่ง
    [แก้] เจิ้งเหอและประเทศไทย
    ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เจ้าพ่อซำปอกง" (ซานเป่ากง). วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจผิด กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า 'ซำปอฮุดกง' ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น 'ซำปอกง' จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา ด้วยเหตุนี้มีนักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า เจิ้งเหอได้เปลี่ยนศาสนามาถือพุทธ
    ทว่าการที่เจิ้งเหอทำฮัจญ์และมีสุสานแบบมุสลิมแสดงว่าเจิ้งเหอเป็นมุสลิมจนถึงแก่กรรม แม้ว่าเจิ้งเหอจะไม่มีลูก เพราะถูกตอนเป็นขันทีตั้งแต่เด็ก หากแต่หม่าเหวินหมิงพี่ชายได้ยกลูกชายหญิงให้กับเจิ้งเหอ ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ได้ประทานให้ เจิ้งชงหลิ่ง ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448 คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม เมื่อนักประพันธ์ชื่อดัง เควิน เมนซีส์ ได้แต่งหนังสือชื่อ 1421 : The Year China Discovered the World ขึ้น โดยมีการอ้างอิงทฤษฎีว่า นายพลเรือผู้กล้าหาญชาวจีนผู้หนึ่งได้ล่องเรือสำเภาไม้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก เดินทางมาถึงอเมริกาก่อนหน้าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส จะค้นพบถึง 71 ปี
    เควิน เมนซีส์ ไม่ได้ตั้งใจที่จะมานั่งลบล้างประวัติศาสตร์ที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่เขาเกิดไปเจอข้อมูลบางอย่างเข้าโดยบังเอิญขณะเดินทางไปฉลองครบรอบแต่งงาน 25 ปีที่ประเทศจีน เมนซีส์ได้รับการบอกเล่าเรื่องราวของกองเรือขนาดใหญ่ ที่นำพาเจ้าผู้ครองนครจากดินแดนต่างๆ ทั่วโลกมาร่วมในงานเฉลิมฉลองการสถาปนาพระราชวังต้องห้าม ในวันปีใหม่เมื่อปี ค.ศ.1421 และนั่นทำให้เขาฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าเหตุใดจึงมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหากว่าไม่ได้มีการติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศมาก่อน
    ก่อนที่หนังสือจะตีพิมพ์เมนซีส์ได้มีโอกาสเห็นแผนที่ซึ่งจำลองพื้นที่ในแถบทะเลแคริบเบียนและหมู่เกาะต่างๆ นอกชายฝั่งอเมริกา ซึ่งถูกตีพิมพ์ก่อนหน้าที่โคลัมบัสจะออกเดินทางสำรวจโลก 70 ปี การที่ได้เห็นเปอร์โตริโกและกัวลาลูปนั้นทำให้เมนซีส์เชื่อว่าผู้ที่มาถึงก่อนโคลัมบัสก็คือพวกโปรตุเกส ซึ่งมีการส่งเรือออกไปค้นหาเกาะซึ่งปรากฏอยู่ในแผนภูมิแม่บทของโลกในเวลาต่อมา
    ไม่เพียงโปรตุเกสที่ยืนยันว่าแผนภูมิแม่บทฉบับนี้มีหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงชาวจีนเท่านั้น แต่ชาวยุโรปพวกแรกที่ไปอเมริกาก็พบว่ามีชาวจีนอยู่ที่นั่นแล้วถึง 38 คณะไม่ว่าจะเป็นคณะของวาสเควซ, โคโรนาโด เฟเรลโล, เมเจอร์ เพาเวอร์ส, เปโดร เมเนนเดซ หรืออวิลเลส เวอร์ราซาโน
    หลังจากหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมา เรื่องราวการเดินทางของโคลัมบัส นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ก็มีอันต้องแปดเปื้อน และกลายเป็นที่ถกเถียงถึงประวัติศาสตร์ที่อาจผิดเพี้ยนไป เพราะเมนซีส์ไม่เพียงชี้ชัดลงไปว่า นายพลเช็งฮีและกองเรือของเขาซึ่งบรรทุกสิ่งของมีค่าตามพระราชโองการของจักรพรรดิจูตี้ แห่งราชวงศ์หมิง เมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผู้ค้นพบทวีปนี้ก่อนเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้รวบรวมอเมริกาให้เป็นเมืองขึ้นของจีนก่อนที่โคลัมบัสจะมาถึงด้วย
    ข้อโต้แย้งที่ผมต้องการจะบอกก็คือ กองเรือของจีนได้เดินทางรอบโลกและได้ทำแผนภูมิการเดินเรือขึ้นก่อนชาวยุโรป และชาวยุโรปได้ค้นพบโลกใหม่โดยใช้แผนภูมิที่คนจีนทำขึ้น นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ของยุโรปทุกคนล้วนออกเดินทางโดยใช้แผนภูมิในการบอกทางที่พวกเขาจะไปทั้งสิ้น เจ้าของผลงานพลิกประวัติศาสตร์โลกย้ำ
    เพราะขณะที่กัปตันคุกมีแผนที่ของออสเตรเลีย โคลัมบัสมีแผนที่ของแคริบเบียน และแม็คเจลแลนมีแผนที่ของแปซิฟิกนั้น แผนที่ทั้งหมดล้วนมาจากแผนภูมิแม่บทของโลก (Master Chart) ที่ชาวจีนเป็นผู้ทำขึ้น เควิน เมนซีส์ ผู้เขียนซึ่งเป็นอดีตผู้บัญชาการเรือดำน้ำชาวอังกฤษ ทุ่มเทเวลากว่า 9 ปี ในการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ จนได้หลักฐานและข้อมูลใหม่ๆ จนทำให้เชื่อได้ว่าทฤษฎีที่เขาค้นพบนี้เป็นความจริง
    ชาวโปรตุเกสอ้างว่าพวกเขามีแผนภูมิแม่บท ของโลกในราวปี ค.ศ.1420 ซึ่งเป็นแผนภูมิแม่บทของโลกที่เมนซีส์ค้นพบในเวลาต่อมาเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยัน เช่นเดียวกับเหตุผลที่ว่าทำไมมีคนจีนไปอาศัยอยู่บนแผ่นดินเหล่านั้นก่อนที่ชาวยุโรปจะไปถึง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีการพบดีเอ็นเอของชาวจีนอยู่ในสายเลือดของชาวยุโรป
    ที่น่าตกใจไปมากกว่านั้นก็คือ ไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบภาพใบหน้าของเช็งฮีในอเมริกาเหนือโดยสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง และนี่จะเป็นข้อพิสูจน์สำคัญที่ว่า กองเรือของนายพลเช็งฮีได้เดินทางมายังชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือและใต้จริง โดยมีหลักฐานยืนยัน
    [แก้] อ้างอิง
    ·         Deng, Gang (2005). Chinese Maritime Activities and Socioeconomic Development, c. 2100 BC - 1900 AD. Greenwood Press. ISBN 0-313-29212-4.
    ·         Dreyer, Edward L. (2006). Zheng He: China and the Oceans in the Early Ming, 14051433 (Library of World Biography Series). Longman. ISBN 0-321-08443-8.
    ·         Levathes, Louise (1997). When China Ruled the Seas: The Treasure Fleet of the Dragon Throne, 14051433. Oxford University Press, trade paperback. ISBN 0-19-511207-5.
    ·         Mills, J. V. G. (1970). Ying-yai Sheng-lan, The Overall Survey of the Ocean's Shores (1433), translated from the Chinese text edited by Feng Ch'eng Chun with introduction, notes and appendices by J. V. G. Mills. White Lotus Press. Reprinted 1970, 1997. ISBN 974-8496-78-3.
    ·         Ming-Yang, Dr Su. 2004 Seven Epic Voyages of Zheng He in Ming China (14051433)
    ·         Viviano, Frank (2005). "China's Great Armada." National Geographic, 208(1):2853, July.
    ·         Joseph Kahn: China Has an Ancient Mariner to Tell You About. In The New York Times of 2005-7-20.
    ·         Cummins, Joseph (2006). History's Great Untold Stories. Murdoch Books. ISBN 1-74045-808-7.
    ·         Shipping News: Zheng He's Sexcentenary - China Heritage Newsletter, June 2005, ISSN 1833-8461. Published by the China Heritage Project of The Australian National University.